พาณิชย์ทำโพลสำรวจตัวเอง บอกทุกอำเภอ ปลื้มผลงาน ลดค่าครองชีพเยอะสุด
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนประจำเดือนก.พ.67ทุกอำเภอทั่วประเทศ เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ โดยภาพรวมผลงานของกระทรวงพาณิชย์ ที่ประชาชนมีความพึงพอใจ5อันดับแรก คือ นโยบายลดค่าครองชีพประชาชน83.57%รองลงมาเป็นการดูแลราคา ปริมาณสินค้าเกษตร และการตลาดแบบครบวงจร 81.20%การปรับการทำงานของกระทรวงพาณิชย์ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจการค้า80.61%การผลักดันและสร้างแต้มต่อด้วยข้อตกลงเขตการค้าเสรีเอฟทีเอ80.30%และการบูรณาการการทำงานของพาณิชย์จังหวัด และทูตพาณิชย์ เพื่อส่งเสริมการค้า79.95%คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“นโยบายที่ประชาชนมีความพึงพอใจสูงสุด 2 อันดับแรก จะเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว และเห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว อาทิ การลดค่าครองชีพ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้จัดกิจกรรมจำหน่ายสินค้าราคาประหยัดต่อเนื่อง และมาตรการดูแลเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร เช่น สินค้าข้าว ขณะที่นโยบายอื่น ๆ ที่ได้รับความพึงพอใจรองลงมา อาจต้องใช้เวลา อาทิ ข้อตกลงการค้าเสรีเอฟทีเอ”
ทั้งนี้ หากพิจารณาเป็นรายภูมิภาค พบว่า นโยบายการลดค่าครองชีพประชาชน ประชาชนในภาคกลางพอใจสูงสุด88.82%ภาคอีสาน83.98%และภาคเหนือ83.36%ขณะที่ภาคใต้ พึงพอใจต่อนโยบายด้านการสร้างโอกาสทางการค้า สร้างความเข้มแข็งของธุรกิจ ด้วยซอฟต์พาวเวอร์ และการพัฒนามาตรฐานเอสเอ็มอีเป็นอันดับหนึ่ง83.48%อาทิ การพัฒนาให้นกกรงหัวจุกเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของจังหวัดชายแดนใต้ ส่วน กทม.และปริมณฑล พอใจด้านการปรับการทำงานมากสุด85.59%คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ขณะเดียวกันหากพิจารณาเป็นรายอาชีพ พบว่า นโยบายด้านการลดค่าครองชีพประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนเกือบทุกอาชีพมีความพึงพอใจสูงสุด ทั้งพนักงานของรัฐ 87.63% ผู้ไม่ได้ทำงาน 86.54% ผู้ประกอบการ 85.61% พนักงานเอกชน 83.17% เกษตรกร 80.99 และอาชีพอิสระ 80.15% ขณะที่นักศึกษามีความพึงพอใจเป็นอันดับแรกต่อนโยบายด้านการผลักดันข้อตกลงการค้าเสรี 87.68%
นายพูนพงษ์ กล่าวว่า การผลักดันข้อตกลงเขตการค้าเสรี และนโยบายเร่งรัดการส่งออก เป็นนโยบายที่นักศึกษามีความพึงพอใจสูงสุด ซึ่งอาจสะท้อนว่า คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจต่อการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางการค้าของไทย ซึ่งเป็นนโยบายที่สร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงทางการค้าในระยะยาว ขณะที่การช่วยเหลือเกษตรกร และผู้ประกอบการอย่างครบวงจร ครอบคลุมการผลิตและการตลาดทั้งในและต่างประเทศ อาทิ การดูแลราคาและปริมาณสินค้าเกษตร การดูแลราคาปัจจัยการผลิตสินค้าเกษตร การอำนวยความสะดวกทางการค้า การขยายช่องทางการค้าทั้งในและต่างประเทศ และการบูรณาการการทำงานของพาณิชย์จังหวัด และทูตพาณิชย์ในต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าท้องถิ่นได้รับความพึงพอใจอยู่ในระดับสูงเช่นกัน