เจาะลึกภาษีที่ดินการเกษตร พร้อมทริคทำที่รกร้างให้มีมูลค่า
จากกรณีที่ภาษีที่ดินปีนี้ 2567 จะต้องเสียภาษีแบบเต็ม ๆ 100% แล้ว วันนี้ชวนมาเจาะลึกที่ดินเกษตรกรรมกัลข้อมูล 51 พืช 9 ชนิดสัตว์ ที่หากใครปลูกหรือเลี้ยงไว้จะถือว่าใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรม
ตามประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่องหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมโดยการใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม หมายถึง การใช้ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ประกอบการเกษตรโดยมีวัตถุประสงค์บริโภคเองและขาย หรือทำฟาร์ม แต่ไม่รวมถึงการทำการประมงและการทอผ้า
ปิดฉาก GRAM Pancakes – PABLO Cheese tart หลังขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
กสิกร ชี้แจง ปัญหาเงินถูกถอนออกจากบัญชีเอง แนะ เก็บบัตร ATM – เดบิต ไว้กับตัว
ดราม่าผ่อนบ้าน “ไม่ตัดเงินต้น ส่งเท่าไหร่วิ่งไปหาแต่ดอกเบี้ย” คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ซึ่งการประกอบการเกษตรที่เป็นการทำไร่ การปลูกผัก การปลูกไม้ผลยืนต้น การปลูกสวนป่า การปลูกป่าเศรษฐกิจแบบสวนเฉพาะ หรือการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นแบบสวนผสมจะมีชนิดพืชที่ถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ในการประกอบการเกษตรกรรม รวมประมาณ 51 ชนิดพืช เช่น ตระกูลกล้วย 3 ชนิด ตระกูลกาแฟ ตระกูลส้ม
อย่างไรก็ตาม กรณีที่ไม่ปรากฏชนิดพืชดังที่กล่าวไป ให้ใช้อัตราขั้นต่ำของการประกอบการเกษตรต่อไร่ โดยเทียบเคียงจากชนิดพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงที่สุด และกรณีที่ไม่สามารถเทียบเคียงจากชนิดพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงตาม 51 ชนิดพืชได้ ให้พิจารณาตาม ลักษณะการประกอบการเกษตรในแต่ละท้องถิ่น
ส่วนการเลี้ยงสัตว์ มี 9 ชนิดสัตว์ คือ โค กระบือ แพะ-แกะ สุกร สัตว์ปีกเลี้ยงปล่อย (เป็ดและไก่) กวาง หมูป่า ผึ้ง จิ้งหรีด
ขณะที่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะแบ่งเป็นเลี้ยงในพื้นที่บ่อดิน บ่อปูน กระชังบก บ่อพลาสติก โรงเพาะฟักบ่อพักน้ำ บ่อบ้าบัดน้ำ คลองส่งน้ำ คลองระบายน้ำ คูน้ำ คันดินขอบบ่อ ถนน และให้รวมถึงสิ่งปลูกสร้างอื่นใด ที่ใช้ประโยชน์ เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
กรณีที่ไม่ปรากฏชนิดสัตว์ตามที่กล่าวไป ให้ใช้อัตราขั้นต่ำของการเลี้ยงปศุสัตว์ และการเพาะเลี้ยง แมลงเศรษฐกิจและเกษตรอื่น ๆ โดยเทียบเคียงจากชนิดสัตว์ที่มีลักษณะใกล้เคียงที่สุด และกรณีที่ไม่สามารถเทียบเคียงจากชนิดสัตว์ที่มีลักษณะใกล้เคียง 9 ชนิดสัตว์ ให้พิจารณาตาม ลักษณะการเลี้ยงปศุสัตว์และการเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจและเกษตรอื่น ๆ ในแต่ละท้องถิ่น
การพัฒนาที่ดินรกร้างว่างเปล่าเพื่อใช้ประโยชน์ก็ยังคงมีเรื่องสำคัญๆ ซึ่งทริคจากธนาคารไทยพาณิชย์ บอกว่า ควรจะพิจารณานอกเหนือจากภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เช่น
- จำนวนเงินลงทุนและระยะเวลาในการคืนทุน
- การขอใบอนุญาตกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อก่อสร้างรวมทั้งเพื่อประกอบกิจการ
- ความต้องการของตลาด/ผู้บริโภค
- การจ้าง/จัดหาแรงงาน
- ความเสี่ยงทางด้านการประกอบธุรกิจอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ภัยธรรมชาติ
แต่ก็ยังดีกว่าปล่อยที่ดินไว้ให้รกร้างว่างปล่า การทำพื้นที่เกษตรกรรม อาจเกิดเป็นแหล่งรายได้ใหม่ ๆ เป็นพื้นที่ทำกินให้กับครอบครัวหรือชุมชน เพราะหากปล่อยที่ดินให้รกร้างไว้นานๆ เกิน 3 ปี ปีที่ 4 จะถูกเก็บภาษีที่ดินเพิ่มอีกเท่าตัว
ที่ดินสำหรับการทำพื้นที่เกษตรกรรม ไม่ว่าจะปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ ทำฟาร์ม ล้วนต้องเสียภาษีที่ดินทั้งนั้นค่ะ ตั้งแต่ 0.01% มูลค่าที่ดิน 0-75 ล้านบาท คิดง่าย ๆ คือ ล้านละ 100 บาท จนถึงสูงสุด 0.1% มูลค่าที่ดินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป คือ ล้านละ 1,000 บาท